สวทน. เดินหน้าโครงการ “สะเต็ม แล็บ” ต่อเนื่องปีที่ 2 หลังปีแรกนำร่อง 2 โรงเรียนประสบความสำเร็จ เตรียมขยายผลเพิ่มอีก 5 โรงเรียนและจัดทำหลักสูตรสะเต็มแล็บ
สวทน. เดินหน้าโครงการ “สะเต็ม แล็บ” ต่อเนื่องปีที่ 2 หลังปีแรกนำร่อง 2 โรงเรียนประสบความสำเร็จ เตรียมขยายผลเพิ่มอีก 5 โรงเรียนและจัดทำหลักสูตรสะเต็มแล็บ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เดินหน้าโครงการ “สะเต็ม แล็บ” ต่อเนื่องปีที่ 2 หลังปีแรกนำร่อง 2 โรงเรียนประสบความสำเร็จ
เตรียมขยายผลเพิ่มอีก 5 โรงเรียนและจัดทำหลักสูตรสะเต็มแล็บ คาด มีนักเรียนได้รับประโยชน์ในปีการศึกษาแรกกว่า 5,000 ราย
นายกิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กล่าวว่า
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ทำโครงการพัฒนาศักยภาพและสร้างสรรค์นวัตกรรมของเด็กวัยเรียน หรือ สะเต็ม แล็บ (STEM LAB) ขึ้น
โดยเน้นการพัฒนาความคิดด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านห้องปฏิบัติการ สะเต็ม แล็บ (STEM Lab) ซึ่งเป็นรูปแบบห้องปฏิบัติการที่ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
ต่างจากแล็บทั่วไปที่เน้นเพียงการทดลองและสังเกตเท่านั้น โดยปี 2561 จะขยายผลตั้งสะเต็ม แล็บ เพิ่มอีก 5 โรงเรียน คือ
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.มุกดาหาร //
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.บุรีรัมย์ //
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.เลย //
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ลพบุรี
และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.เพชรบุรี
พร้อมทั้ง ยังเพิ่มเครื่องมือที่ทันสมัยในห้องปฏิบัติการ สะเต็ม แล็บ เช่น กล้องถ่ายภาพความร้อน เทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรด เครื่องวัดความดังเสียง เครื่องวัดความเร็วลม ทั้งนี้ ได้จัดทำหลักสูตรการเรียนผ่านห้องปฏิบัติการ สะเต็ม แล็บ
ซึ่งเป็นหลักสูตรเพิ่มเติมหรือเชื่อมโยงจากหลักสูตรที่โรงเรียนมีอยู่เดิมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คาดว่า มีนักเรียนได้รับประโยชน์ในปีการศึกษาแรกกว่า 5,000 ราย
และช่วยให้เกิดการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีนำไปสู่การสร้างกำลังคนที่มีศักยภาพ
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กล่าวย้ำว่า ประเทศไทย มุ่งเน้นสร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าการทำอุตสาหกรรมเชิงปริมาณนำประเทศไทยให้หลุดจากประเทศกับดักรายได้ปานกลาง
แต่ยังคงขาดบุคลากรที่มีความสามารถทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมาขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรม จึงต้องส่งเสริมด้านการศึกษาที่ปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีและพฤติกรรมของนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงไป
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : ปิยาพรรณ ยังเทียน / สวท.
ผู้เรียบเรียง : ปิยาพรรณ ยังเทียน / สวท.
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย